วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสั่งการ



หลักการสั่งการ(Directing)

การอำนวยการ
หมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผน หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้


องค์ประกอบของการอำนวยการ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ความเป็นผู้นำ
เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา
2) อำนาจจากบารมี
3) อำนาจตามกฎหมาย
จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ
1) แบบประชาธิปไตย
2) แบบเผด็จการ
3) แบบตามสบาย

2. การจูงใจ
มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่
1) ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
3) ความต้องการทางสังคม
4) ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
5) ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม

3. การติดต่อสื่อสาร
เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2ลักษณะคือ
1) สื่อสารแบบทางเดียว
2) สื่อสารแบบ 2 ทาง

4. องค์การและการบริหารงานบุคคล
จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน

สรุปได้ว่า  การอำนวยการหรือการสั่งการ หมายถึง  การใช้ทักษะในการบริหารตลอดจนความสามารถของผู้บริหาร  ในการติดต่อประสานงาน  สั่งการและกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง  เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การอำนวยการหรือการสั่งการ  เป็นกระบวนการที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  เพื่อแจ้งให้ทราบว่า  ให้ใครทำ  ทำอะไร  ทำที่ไหน  ทำอย่างไร  และทำเมื่อใด

การอำนวยการหรือการสั่งการ  เป็นภาระหน้าที่ของผู้นำ  การใช้ความสามารถในการสั่งงาน  การตัดสินใจ  การจูงใจและการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานอย่างดีที่สุด  จนกระทั่งองค์การสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้

ประเภทของการสั่งการ

ในการสั่งการมีหลายแบบ  แล้วแต่จะใช้แบบไหน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน  และตำแหน่งหน้าที่  จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณา  ใช้ความสุขุมรอบคอบ  และยังเป็นเทคนิคเฉพาะตัวอีกด้วย
1.  การสั่งการโดยตรง ( Demand  of Direct )  เป็นแบบออกคำสั่ง  ( Command  of  Direct)  โดยที่ผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที  การสั่งการในลักษณะนี้มักจะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือต้องการให้มีการควบคุม  หรือรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
2.  การสั่งการแบบขอร้อง ( Request )  เป็นลักษณะโน้มเอียงไปในทางขอความช่วยเหลือหรือร้องขอ  เพื่อเป็นการจูงใจคนให้ทำงาน  เป็นการผูกมิตร  และผู้ทำมีความเต็มใจที่จะทำงาน  หรือใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้รับมอบงานได้มีโอกาสพิจารณาและไตร่ตรองงานเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
3.  การสั่งการแบบขอเสนอแนะหรือคำแนะนำ  ( Suggested )  การสั่งการแบบนี่มีลักษณะเร่งเร้ายั่วยุให้เกิดความคิดริเริ่มอยากทำงาน  เป็นการเสริมสร้างหรือส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานรวดเร็วและมองเห็นลู่ทางในการปฏิบัติงาน

ลักษณะของการสั่งการ

ลักษณะของการสั่งการ  อาจจำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ  ได้  2  ประเภทคือ
1.  การสั่งการเป็นหลายลักษณ์อักษร  เป็นการสั่งการที่ใช้กรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  เช่น  เมื่อต้องการจะส่งคำสั่งไปให้อีกแห่งทราบโดยแน่ชัด  เมื่อผู้รับคำสั่งมีความเข้าใจช้าหรือลืมคำสั่งนั้นหรือมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก  ยากแก่การจดจำ  เมื่อต้องการผู้รับคำสั่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงให้ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างถูกต้อง  หรือมีคำสั่งที่ตัวเลข  และหรือกำหนดเวลา  จำนวนแน่นอน  ฯลฯ

ข้อบกพร่อง  ที่อาจเกิดจากการสั่งการด้วยลายลักษณ์อักษร  อาจทำให้ผู้ปฏิบัติขาดความสามารถที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมาย  ได้แก่
1.  ข้อความของคำสั่งยาวเกินไป  อาจมีการตีความผิดพลาดหรือจำไม่ได้
2   ซับซ้อนยุ่งยากต่อความเข้าใจ
3.  ไม่เรียงลำดับให้เข้าใจง่าย  หรือคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติไม่ชัดเจน
4.  ใช้คำศัพท์ทางวิชาการ ( Technical  term )  มากเกินไป  ผู้รับคำสั่งอาจไม่เข้าใจความหมายหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.  ผู้รับคำสั่งไม่ได้รับอำนาจและขาดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

2.  การสั่งด้วยวาจา  โดยปกติมักจะเป็นคำสั่งที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดหรือมีความสำคัญมากนักและคำสั่งนั้นไม่เหมาะสมจะสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร  หรืออาจจะต้องมีการอธิบายคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้เข้าใจยิ่งขึ้น
ข้อบกพร่อง  ที่อาจเกิดได้จากการสั่งงานด้วยวาจา  ได้แก่
1.  พูดไม่ชัดเจน  ทั้งคำถามและคำตอบ
2.  ใช้คำสั่งในภาษาที่ผู้รับคำสั่งไม่คุ้นเคย
3.  คาดการณ์ผิด  คิดว่าผู้รับคำสั่งเข้าใจดีแล้ว  ไม่ได้ทบทวนใหม่หรือย้ำคำสั่ง
4.  ไม่เจาะจงผู้รับคำสั่ง  หรือพูดวกวน  หรือพูดหลายเรื่องพร้อมกัน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น