วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาวะผู้นำ


ความหมายและความสำคัญของภาวะผู้นำ
            ผู้นำ คืออะไร? เป็นคำถามที่สามารถตอบได้ในหลายแง่มุม หรือหลายความหมาย ผู้นำ อาจจะหมายถึง ผู้ที่สามารถสั่งการให้คนในองค์การหรือลูกน้องปฏิบัติตาม หรือ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ ฯลฯ แต่โดยสรุปแล้ว "ผู้นำ" หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงาน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ นั่นเอง

ผู้นำและภาวะผู้นำ
DuBrin. (1998 อ้างถึงใน รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2544: 12) กล่าวถึงผู้นำ (Leader)ว่า เป็นบุคคลที่ทำให้องค์การเจริญก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จโดยเป็นผู้ที่มีบทบาทแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
วิภาดา คุปตานนท์ (2544: 237) กล่าวว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถในการที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศคติและการกระทำของผู้อื่น
Nelson และQuick (1997: 346) ให้ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)ว่า หมายถึง กระบวนการในการแนะแนวและนำทางพฤติกรรมของคนในสภาพของการทำงาน Gibson, Ivancevich และDonnelly (1997: 272) มองภาวะผู้นำ (Leadership)ในเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกในกลุ่ม โดยมีผู้นำเป็นตัวแทนในการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นๆในกลุ่ม ภาวะผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มด้วย
ผู้นำอาจจะเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ซึ่งเรามักจะรับรู้เกี่ยวกับผู้นำที่ไม่เป็นทางการอยู่เสมอ เนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะเด่นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้สมาชิกแสดงพฤติกรรมที่มีน้ำหนักและเป็นเอกภาพ โดยเขาจะใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติการและอำนวยการโดยใช้กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม (ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, 2535 อ้างถึงใน มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 47)

ลักษณะของผู้นำ
ได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทาง ทั้งในด้านคุณลักษณะ บทบาท หน้าที่ ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราสามารถที่จะแบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะคือ
               1.ผู้นำแบบเป็นทางการ   (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
หรือให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ          
             2. ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
          ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้นำไม่ว่าจะเป็นแบบทางการ หรือ ไม่เป็นทางการ ก็คือ จะต้องมีลูกน้อง มีเงื่อนไขในการปกครองต่างๆเช่นกฏระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้นำยังมีเรื่องของ วิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์ การจัดความสำคัญก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารที่ดี และมีวินัย
เป็นคำถามที่สามารถตอบได้ในหลายแง่มุม หรือหลายความหมาย ผู้นำ อาจจะหมายถึง ผู้ที่สามารถสั่งการให้คนในองค์การหรือลูกน้องปฏิบัติตาม หรือ หมายถึง ผู้ที่มีความสามารถหรือความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นและได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ ฯลฯ แต่โดยสรุปแล้ว "ผู้นำ" หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงาน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ นั่นเอง
1. ภาวะผู้นำตามบุคลิกลักษณะ (Traits Model)
      แนวคิดนี้มุ่งศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพ บุคลิกอุปนิสัยส่วนบุคคลของผู้นำที่ดี
ยกตัวอย่างเช่น ได้มีการศึกษาถึงภาวะผู้นำของนายเนลสัน แมนเดลา ผู้นำแอฟริการใต้ จาก
การศึกษาพบว่านายแมนเดลา มีบุคลิกลักษณะที่โดดเด่นแสดงถึงความมีภาวะผู้นำอยู่
6 ประการคือ
1. มีความทะเยอทะยานและมีพลัง
2. มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะเป็นผู้นำ
3. มีความซื่อสัตย์
4. มีความมั่นใจในตนเอง
5. มีความเฉลียวฉลาด
6. มีความรู้ในงาน
แนวคิดกลุ่มนี้มีข้อจำกัด คือไม่สามารถบ่งบอกลักษณะผู้นำที่ดีที่แท้จริงได้แน่นอนและแนวคิดนี้มิได้นำปัจจัยสำคัญของการเป็นผู้นำ คือ ผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาและสถานการณ์
มาวิเคราะห์ประกอบด้วย นอกจากนี้ ก็มิได้มีการแยกแยะจัดลำดับความสำคัญของบุคลิก
ลักษณะแต่ละชนิดว่าจะต้องมีหรือไม่อย่างไรและควรมีมากน้อยเพียงไร
2. แนวคิดทางพฤติกรรม (Behavioral Theories)
     มุ่งศึกษาพฤติกรรมที่โดดเด่นของผู้นำ ที่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ เช่นผู้นำที่เน้นความสำคัญ
ของคนหรือเน้นที่ผลงาน ฯลฯ ซึ่งแนวคิดนี้แตกต่างจากแนวคิดของกลุ่มแรกในประเด็นสำคัญ
คือพฤติกรรมของผู้นำทีดีที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้เรานำไปฝึกฝนสร้างผู้นำที่มีศักยภาพได้แต่หากเป็นบุคลิกลักษณะทางกายภาพแล้ว เราไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นได้
3. แนวคิดตามสถานการณ์ (Contingency /Situational Model)
     มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์และพฤติกรรมของผู้นำกล่าวคือ รูปแบบของผู้นำจะ
เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ผู้นำคนหนึ่งอาจมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านตัวบุคคล เวลาและสภาพแวดล้อม











วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสั่งการ



หลักการสั่งการ(Directing)

การอำนวยการ
หมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผน หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้


องค์ประกอบของการอำนวยการ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ความเป็นผู้นำ
เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ
1) ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา
2) อำนาจจากบารมี
3) อำนาจตามกฎหมาย
จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ
1) แบบประชาธิปไตย
2) แบบเผด็จการ
3) แบบตามสบาย

2. การจูงใจ
มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่
1) ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
3) ความต้องการทางสังคม
4) ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง
5) ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
ดังนั้น ในการสั่งการโดยมีเทคนิคจูงใจด้วย ก่อนจะสั่งการควรขึ้นคำถามก่อนว่า พอมีเวลาหรือไม่หรือ คุณจะช่วยงานนี้ได้ไหม

3. การติดต่อสื่อสาร
เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2ลักษณะคือ
1) สื่อสารแบบทางเดียว
2) สื่อสารแบบ 2 ทาง

4. องค์การและการบริหารงานบุคคล
จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน

สรุปได้ว่า  การอำนวยการหรือการสั่งการ หมายถึง  การใช้ทักษะในการบริหารตลอดจนความสามารถของผู้บริหาร  ในการติดต่อประสานงาน  สั่งการและกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง  เพื่อให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การอำนวยการหรือการสั่งการ  เป็นกระบวนการที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  เพื่อแจ้งให้ทราบว่า  ให้ใครทำ  ทำอะไร  ทำที่ไหน  ทำอย่างไร  และทำเมื่อใด

การอำนวยการหรือการสั่งการ  เป็นภาระหน้าที่ของผู้นำ  การใช้ความสามารถในการสั่งงาน  การตัดสินใจ  การจูงใจและการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานอย่างดีที่สุด  จนกระทั่งองค์การสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้

ประเภทของการสั่งการ

ในการสั่งการมีหลายแบบ  แล้วแต่จะใช้แบบไหน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน  และตำแหน่งหน้าที่  จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารจะต้องพิจารณา  ใช้ความสุขุมรอบคอบ  และยังเป็นเทคนิคเฉพาะตัวอีกด้วย
1.  การสั่งการโดยตรง ( Demand  of Direct )  เป็นแบบออกคำสั่ง  ( Command  of  Direct)  โดยที่ผู้รับคำสั่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที  การสั่งการในลักษณะนี้มักจะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือต้องการให้มีการควบคุม  หรือรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
2.  การสั่งการแบบขอร้อง ( Request )  เป็นลักษณะโน้มเอียงไปในทางขอความช่วยเหลือหรือร้องขอ  เพื่อเป็นการจูงใจคนให้ทำงาน  เป็นการผูกมิตร  และผู้ทำมีความเต็มใจที่จะทำงาน  หรือใช้ในกรณีที่ต้องการให้ผู้รับมอบงานได้มีโอกาสพิจารณาและไตร่ตรองงานเป็นความภาคภูมิใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
3.  การสั่งการแบบขอเสนอแนะหรือคำแนะนำ  ( Suggested )  การสั่งการแบบนี่มีลักษณะเร่งเร้ายั่วยุให้เกิดความคิดริเริ่มอยากทำงาน  เป็นการเสริมสร้างหรือส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานรวดเร็วและมองเห็นลู่ทางในการปฏิบัติงาน

ลักษณะของการสั่งการ

ลักษณะของการสั่งการ  อาจจำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ  ได้  2  ประเภทคือ
1.  การสั่งการเป็นหลายลักษณ์อักษร  เป็นการสั่งการที่ใช้กรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้  เช่น  เมื่อต้องการจะส่งคำสั่งไปให้อีกแห่งทราบโดยแน่ชัด  เมื่อผู้รับคำสั่งมีความเข้าใจช้าหรือลืมคำสั่งนั้นหรือมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก  ยากแก่การจดจำ  เมื่อต้องการผู้รับคำสั่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงให้ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างถูกต้อง  หรือมีคำสั่งที่ตัวเลข  และหรือกำหนดเวลา  จำนวนแน่นอน  ฯลฯ

ข้อบกพร่อง  ที่อาจเกิดจากการสั่งการด้วยลายลักษณ์อักษร  อาจทำให้ผู้ปฏิบัติขาดความสามารถที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับหมอบหมาย  ได้แก่
1.  ข้อความของคำสั่งยาวเกินไป  อาจมีการตีความผิดพลาดหรือจำไม่ได้
2   ซับซ้อนยุ่งยากต่อความเข้าใจ
3.  ไม่เรียงลำดับให้เข้าใจง่าย  หรือคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติไม่ชัดเจน
4.  ใช้คำศัพท์ทางวิชาการ ( Technical  term )  มากเกินไป  ผู้รับคำสั่งอาจไม่เข้าใจความหมายหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน
5.  ผู้รับคำสั่งไม่ได้รับอำนาจและขาดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

2.  การสั่งด้วยวาจา  โดยปกติมักจะเป็นคำสั่งที่ไม่ค่อยมีรายละเอียดหรือมีความสำคัญมากนักและคำสั่งนั้นไม่เหมาะสมจะสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร  หรืออาจจะต้องมีการอธิบายคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้เข้าใจยิ่งขึ้น
ข้อบกพร่อง  ที่อาจเกิดได้จากการสั่งงานด้วยวาจา  ได้แก่
1.  พูดไม่ชัดเจน  ทั้งคำถามและคำตอบ
2.  ใช้คำสั่งในภาษาที่ผู้รับคำสั่งไม่คุ้นเคย
3.  คาดการณ์ผิด  คิดว่าผู้รับคำสั่งเข้าใจดีแล้ว  ไม่ได้ทบทวนใหม่หรือย้ำคำสั่ง
4.  ไม่เจาะจงผู้รับคำสั่ง  หรือพูดวกวน  หรือพูดหลายเรื่องพร้อมกัน








วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดคนเข้าทำงาน

การจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน (Staffing)
ความสำคัญของ ทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การและความจำเป็นในการจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน

ในการบริหารงานขององค์การนั้น ความมุ่งหมายหลักคือ การต้องการให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกทั้งพัฒนาให้ก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ซึ่งทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของการบริหารคือ ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน และวัสดุอุปกรณ์
การจัดหาบุคลากรเข้าทำงานในองค์การ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งของนักบริหารที่ต้องดำเนินการต่อจากการวางแผนและการจัดองค์การ กล่าวคือ เมื่อได้มีการวางแผนงาน จัดแบ่งงานและกำหนดโครงสร้างขององค์การแล้ว นักบริหารก็จะต้องทำการจัดหาคนเข้าทำงานตามตำแหน่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม (Put the right man on the right job) “ การจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน
(Staffing) จึงครอบคลุมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกันเป็นกระบวนการดังต่อไปนี้

1.  การวางแผนกำลังคน
2.  การสรรหาบุคคล
3.  การคัดเลือกบุคคล
4.  การบรรจุแต่งตั้ง
5.  การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล
6.  การประเมินผลการปฏิบัติงาน
7.  การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน      

                               

คลิกเพื่อดูภาพขยาย ภาพที่ 9.1 ระบบการบริหารงาน

การวางแผนกำลังคน (Human Resource Planning)
หมายถึง การคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการทรัพยากรบุคคลขององค์การทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
วัตถุประสงค์หลักของการวางแผนกำลังคน คือ
1.  เพื่อให้มีทรัพยากรบุคคลทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ สมดุลย์กับปริมาณงานที่ต้องทำในอนาคต
2.  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
3.  เพื่อใช้ข้อมูลที่ได้จากการวางแผนกำลังคน เป็นประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะสำคัญของการวางแผนกำลังคน

1.  เป็นงานขั้นแรกของการจัดหาบุคลากร ก่อนที่จะดำเนินการรับคนเข้าทำงาน
2.  เป็นงานที่ผู้บริหารต้องทำ การวิเคราะห์ปริมาณงาน เพื่อคาดคะเนถึงจำนวนงานที่ต้องทำในอนาคต แล้วแปลออกมาเป็นปริมาณคนที่ต้องการ
3.  การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ซึ่งหมายถึง การศึกษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งหน้าที่ทุกตำแหน่งในองค์การ โดยศึกษาว่าแต่ละงานมีลักษณะการทำงานหรือกระบวนวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง มีขอบเขตความรับผิดชอบแค่ไหน ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำงานนั้นรวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เหมาะสมจะทำงาน
4.  คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการทำงาน และลักษณะงานของงานแต่ละตำแหน่ง

5.  คำบรรยายคุณสมบัติของบุคคลที่จำเป็นสำหรับงาน (Job Specification) เป็นเอกสารระบุถึงลักษณะส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องมีสำหรับการที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของงานแต่ละตำแหน่ง ซึ่งจะมีรายละเอียดในเรื่องของ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ความสนใจ